การตัดสินใจ
ไอวี่จัง |
การตัดสินใจเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในชีวิตของทุกคน มีผลดีผลร้ายมาก ตัดสินใจถูกต้องก็ประสบความสำเร็จ ร่ำรวย มีความสุข สุขภาพแข็งแรง ส่วนการตัดสินใจผิดพลาดอาจจะทำให้เสียเวลา เสียเงินทอง เสียสุขภาพ เดือดร้อนตนเอง หรือทำให้สังคมเดือนร้อนได้ คนเราตัดสินใจ เกือบจะทุกวินาที ในเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญ เรื่องเล็ก ๆ น้อยก็เป็นการตัดสินใจเหมือนกัน เช่น จะสมัครงานที่ไหนดี จะเลือกเรียนวิชาอะไรดี มื้อนี้จะกินอะไรดี หรือจะทำอะไรต่อไปดี กับเรื่องที่สำคัญ ปัญหาที่สลับซับซ้อน โดยเฉพาะการตัดสินใจที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อคนจำนวนมาก ยิ่งต้องมีความฉลาดรอบคอบในการตัดสินใจเป็นทวีคูณ อย่างไรเรียกว่าเป็นการตัดสินใจที่ดี? เช่น นาย ก. ตัดสินใจที่จะขายเสื้อผ้าแล้วลงทุนซื้อของมา ถ้าเกิดขายดีขายหมด ก็ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ดี แต่ถ้าขายไม่ดี ขายไม่หมด คนทั่วไปจะมองว่าตัดสินใจไม่ดี แต่จริง ๆ แล้วต้องพิจารณากิจกรรมที่นาย ก. ทำ เช่น ถ้าขายเสื้อผ้าที่ซื้อมาถูกกฎหมาย เสียภาษีถูกต้อง ค้าขายอย่างสุจริต ไม่หลอกลวงลูกค้า ลงทุนอย่างระมัดระวัง ไม่โลภ ก็ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ดี ที่ถูกต้อง น่ายกย่อง --- เราวัดจากผลลัพธ์ของการตัดสินใจอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูกระบวนการที่ได้มาด้วยหลักในการตัดสินใจจะตัดสินใจอย่างไรให้ดีที่สุด? ไม่นับการทำตามอำเภอใจ ก็มีหลักและวิธีที่นิยมใช้กันอยู่อย่างนับไม่ถ้วน เช่น๑) ห้าขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ๑. ระบุปัญหา ๒) ถูกต้อง เหมาะสม ถูกกาละเทศะ
๓) ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔) อริยสัจจ์สี่๑. พิจารณาว่าอะไรคือปัญหาหรือทุกข์ (ทุกข์) ๕) มรรคแปด
๖) ความพอดี ทางสายกลาง
๗) Objective Oriented
๘) Information Oriented
๙) Win/Win
๑๐) Job Specification + Priority
๑๑) Low Risk / High Return
๑๒) เศรษฐกิจพอเพียง
๑๓) การตอบโจทย์และทำให้ง่าย
๑๔) ความคุ้มค่าหรือผลตอบแทน
๑๕) ห้าขั้นตอนของการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
๑๖) คำสอน ๓ ข้อขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าคำสอนทั้งสามข้อสามารถใช้เป็นหลักยึดในการตัดสินใจได้ ซึ่งได้แก่ ไม่ทำชั่ว ทำดี และทำจิตใจให้สะอาด ทักษะการตัดสินใจนอกจากหลักในการตัดสินใจที่กล่าวไว้ข้างต้น ยังมีแง่มุมที่น่าสนใจดังจะกล่าวต่อไป ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกสถานการณ์ ถูกรวบรวมมาไว้เป็นหมวดหมู่ เพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการตัดสินใจ ดังนี้ศิลปะของการตัดสินใจ
ความแน่วแน่
การวางแผน
ความลังเล
ความเข้าใจ
ก่อนการตัดสินใจ
สภาวะที่เหมาะแก่การตัดสินใจ
ความรอบคอบ
สิ่งช่วยในการตัดสินใจ
การป้องกันไม่ให้ตัดสินใจผิดพลาดหรือไม่ก้าวหน้า
การตัดสินใจซื้อสินค้า
หลังจากตัดสินใจ
การไม่โทษคนอื่นและไม่ซ้ำเติมใคร
ความรัก
|
ไอวี่จัง |
ที่อยู่ของจิตจิตที่ไม่สับสนจะรู้ที่อยู่ และรู้จักไปตามที่ต่าง ๆจุดที่จิตไปก็คือจุดที่เราให้ความสนใจ ใส่ใจ จดจ่อ ในขณะหนึ่ง ๆเรื่องที่อยู่ของจิตนี้เกี่ยวกับมิติของการจดจ่อของจิต มิติที่ว่ามีหลายรูปแบบ ซึ่งไม่ได้ระบุเจาะจงว่าจะต้องเป็นแบบนี้เท่านั้น แต่ลองดูตัวอย่างรูปแบบของจิตรูปแบบหนึ่ง ตามกิจกรรมที่ทำ ดังนี้คือ เริ่มต้นวันใหม่ ๑. รู้เป้าหมายต่าง ๆ โดยเฉพาะ นัดหมาย และงานที่จะทำให้เสร็จในวันนี้ ขณะเดิน ๑. จิตอยู่ที่เหตุการณ์ปัจจุบันใกล้ตัวที่ผ่านทางอายตนะ ขณะทำงาน ๑. จัดการกับการรบกวน เช่น การป้องกัน และขจัดออกไป |
ไอวี่จัง |
เก้าอี้สี่ขา เก้าอี้สี่ขาเป็นหลักการตัดสินใจอย่างง่ายที่ใช้ก่อนพูดก่อนทำ โดยทั่วไป การพูดหรือทำที่ผ่านการคำนึงถึงขาทั้งสี่ จะเป็นกระบวนการที่ผ่านสติและปัญญา หลักนี้อาจจะนำไปใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับคนหรือบริหารโครงการ รวมทั้งใช้ในชีวิตประจำวัน ขาที่ ๑ นึกถึงเรา (First Party) นึกถึงใจเราตัวเรา ในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความคิด ความรู้สึก ความพร้อม ความรู้ ความสามารถ ผลงาน อุปนิสัย วิบากกรรม ทัศนคติ ความเชื่อ ทฤษฎี หรือแผนใด ๆ ที่เรามี รวมทั้งผลกระทบต่าง ๆ ทั้งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและกำลังอาจจะเกิดขึ้น นอกจากนั้น ก่อนการตัดสินใจควรต้องคำนึงถึงหากตกลงทำสิ่งใด เช่น ภาระค่าใช้จ่าย ความคล่องตัว ความอิสระ และปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดจากสิ่งที่รับเข้ามา สิ่งที่รับเข้ามาอาจจะเป็นคนที่รับเข้ามาอยู่ในความรับผิดชอบดูแล หรือชิ้นงาน ขาที่ ๒ นึกถึงเขา (Second Party) คำนึงถึงใจเขาตัวเขา ซึ่งเป็นอีกฝ่ายหนึ่งที่เราจะพูดด้วย หรือทำอะไรแล้วมีผลโดยตรงกับเขา ควรนึกถึงเขา ในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความคิด ความรู้สึก ความพร้อม ความรู้ ความสามารถ ผลงาน อุปนิสัย วิบากกรรม ทัศนคติ ความเชื่อ ทฤษฎี หรือแผนใด ๆ ที่เขามี รวมทั้งผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดกับเขา ขาที่ ๓ นึกถึงคนอื่น (Third Party) คำนึงถึงบุคคลที่สาม ซึ่งเขาจะอยู่ในเหตุการณ์หรือไม่ก็ตาม ควรนึกถึงเขา ในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความคิด ความรู้สึก อุปนิสัย วิบากกรรม ทัศนคติ ความเชื่อ รวมทั้งผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดกับเขา ขาที่ ๔ นึกถึงสิ่งอื่น (Others) คำนึงถึงสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากสามขาข้างต้น ได้แก่ งบประมาณ ชีวิตสัตว์ และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ข้อจำกัด อย่างไรก็ตาม เรื่องเก้าอี้สี่ขาก็เหมือนความคิดเห็นอื่นที่ได้เคยกล่าวไว้ทั้งหมด ว่าไม่สามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์ จึงไม่เหมาะที่จะยึดเป็นนิสัย |
